บทที่ 1

การบริหารสินค้าคงคลัง





โปรแกรมบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Control) เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับการควบคุมสต๊อกสินค้า ทำให้การทำงานเรื่องของการเช็คสินค้าเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยโปรแกรมตัวนี้สามารถที่จะดูยอดคงเหลือได้มากมายหลายรูปแบบ

โปรแกรมเช็คสินค้า หรือ โปรแกรมตรวจนับสต๊อก ที่ช่วยในการบริหารสินค้าคงคลังและควบคุมปริมาณวัตถุดิบ ให้มีปริมาณพอเหมาะ ต่อการใช้งาน ควบคุมปริมาณสินค้าสำเร็จรูปให้เพียงพอกับการจัดจำหน่าย ทำให้สามารถแก้ไขปัญหา พื้นที่ในโกดัง เงินทุนหมุนเวียน ความเสื่อมสภาพของวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง ช่วยในการตัดสินใจต่อการสั่งซื้อวัตถุดิบ ฯลฯ ถ้าสามารถควบคุมปริมาณวัตถุดิบให้ได้ตามจุดประสงค์ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในส่วนต้นทุน วัตถุดิบที่ต่ำสุด ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารองค์กร และทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัท เกิดผลกำไรเพิ่มขึ้นตามมา
 รายละเอียดและคุณสมบัติโปรแกรมสต็อก
สามารถ ออนไลน์ (online) ผ่าน อินเตอร์เน็ต (internet) ระหว่างสำนักงานและคลังสินค้าที่อยู่ต่างพื้นที่ได้
สามารถ ใช้ เครื่องยิงบาร์โค้ด หรือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode scanner) เพื่อรับข้อมูลที่เป็น รหัสบาร์โค๊ดเข้าสู่ระบบได้

สามารถเลือกวิธีการคำนวณต้นทุนได้หลายแบบ

Moving Average
Weighted Average
FIFO
LIFO
Identify Lot

สามารถเลือกวิธีการ Update Stock แบบ On Line หรือ Batch
รหัสสินค้า/วัตถุดิบสามารถแจกแจงได้ 3 ระดับคือ Product Group, Product Sub-Group และ Product No.
รองรับสินค้าที่มี Serial No.
รองรับสินค้าที่ต้องการควบคุม ล็อตผลิต (Lot Control)
รองรับสินค้าที่มี สไตล์/ สี / Size /เช่นสินค้าเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เป็นต้น
รองรับสินค้าประเภทอาหารและยา ระบุวัน/เดือน/ปี ที่ผลิต,หมดอายุได้
กำหนดรหัสสินค้าได้ยาวถึง 20 ตัวอักษร
กำหนดรูปแบบการแสดงรหัสสินค้าได้เอง
ความสามารถบันทึกข้อมูลสินค้าและวัตถุดิบได้ทั้งการรับ,เบิก,โอน,ปรับปรุงต้นทุน
สามารถพิมพ์เอกสาร รับ, เบิก, โอน, ปรับปรุงต้นทุนได้
การมีรหัสการเคลื่อนไหว (Movement Code) สามารถ แยกการรับ,เบิก ได้ถึง 10 ประเภทรับ และ 10 ประเภทเบิก
การมีรหัสหน่วยงาน (Cost Center Code) สามารถสรุปค่าใช้จ่ายของแต่ละหน่วยงานได้
การมีรหัสงาน (Job Code) สามารถสรุปต้นทุนของแต่ละงานได้
สินค้าหรือวัตถุดิบ 1 ตัว สามารถเก็บได้มากกว่า 1 คลังสินค้า (Multiple Warehouse & Location)
สินค้าหรือวัตถุดิบ 1 ตัวมีหน่วยนับได้ 3 ระดับ เช่น ลัง กล่อง ชิ้น และสามารถ Convert ได้ทุกหน่วย
รองรับหน่วยนับขนาน (ธุรกิจเหล็กเส้น, ผ้า, อัญมณี ฯลฯ)
สั่งผลิตตามสูตร (อัตโนมัติเกิด งานระหว่างทำ ตามสูตร)
รับสำเร็จรูปจากการผลิต (อัตโนมัติ ตัดงานระหว่างทำ ตามสูตร)
สั่งประกอบสินค้าตามสูตร (BOM)
รองรับการตรวจนับสินค้า (Physical Count)
มีรายงานครบถ้วนทั้งส่งสรรพากร และวิเคราะห์เพื่อการบริหารงาน

รายงานโปรแกรมสินค้าคงคลัง

รายงานบัญชีสินค้าคงเหลือ
รายงานบัญชีคุมสินค้า
รายงานสรุปการเคลื่อนไหวของสินค้าตาม Movement Code
รายงานค่าใช้จ่ายตามหน่วยงาน
รายงานการเบิกวัตถุดิบใช้ในงาน Job Code
รายงานแสดงอายุของสินค้า
รายงานแสดงสินค้าที่ต้องสั่งซื้อ
รายงานสำหรับตรวจนับสินค้า พร้อม Tag ติดสินค้าในการตรวจนับ
รายงานแสดงการรับ/เบิกประจำปี เปรียบเทียบทั้ง 12 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น