บทที่ 3


การใช้โปรแกรม Microsoft Access ทำระบบบาร์โค้ด

การใช้โปรแกรม Microsoft Access 

Microsoft Access 2010 เป็นหนึ่งโปรแกรมที่อยู่ในชุด Microsoft Office 2010  เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้งานหลายคนให้ความสนใจ แต่มีผู้ใช้บางส่วนรู้สึกว่า  Access  ใช้งานยากมันอาจเป็นเพราะตำราที่มีวางขายในปัจจุบันไม่ได้ปูพื้นฐานก่อนนั้นเอง ทำให้หลายๆ คนเบือนหน้าหนี  Access  อย่างหน้าเสียดาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว Access ใช้งานไม่อยากนัก หากใช้เป็นจะเพิ่มพูนประสิทธิภาพของงานได้เป็น
อย่างมาก

ฐานข้อมูล

                ก่อนใช้งาน Access เราควรรู้จักกับคำว่า ฐานข้อมูล (Database)  ซึ่งหมายถึง วิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบและเป็นระบบ  โดยใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นตัวช่วย  เราสามารถเพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล สืบค้นข้อมูล แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
                ตัวอย่างระบบฐานข้อมูลที่เห็นได้ชัดเจน  ระบบขายสินค้าในร้านค้าปลีกสมัยใหม่  ซึ่งมีการจัดเก็บสินค้าแยกเป็นหมวดหมู่  มีการกำหนดรหัสสินค้า  และมีการกำหนดราคาและส่วนลดอย่างชัดเจน  ในขณะที่เราซื้อสินค้าก็จะมีพนักงานขายจะใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด  เพื่อจะได้ทราบชื่อสินค้าและราคา  รวมทั้งคิดเงินได้ถูกต้องและรวดเร็ว

รู้จักกับ Access

                Access  เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดการกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Database)  ประกอบไปด้วยตารางหลายๆ  ตารางที่มีความสัมพันธ์กัน  เช่น  ตารางเก็บประวัติคนป่วย  กับข้อมูลของผู้ป่วยความสัมพันธ์กันผ่านทางความสัมพันธ์  เป็นต้น
จุดเด่นของ  Access  (เมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมเดียวกัน)  และมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน  เหมาะสำหรับการจัดการข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์  ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูล  การคำนวณค่า  การนำข้อมูลมาวิเคราะห์  การจัดทำรายงานสรุป  และเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาเป็นแอพพลิเคชันที่ทำงานได้หลายมากขึ้นต่อไป

วิธีเก็บข้อมูลใน  Access

                Access  เก็บข้อมูลต่างๆ  ลงในตาราง ซึ่งประกอบด้วยแถว  (Row)  และคอลัมน์  (Column)  โดยเรียกข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ของตารางว่า  ฟิลด์  (Field)  และเรียกแถวในตารางว่า  เร็คคอร์ด  (Record)
 ในฐานข้อมูลของ  Access  จะประกอบไปด้วยหลายๆ  ตาราง  โดยตารางในฐานข้อมูลจะมีการเชื่อมโยงหรือมีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะสำคัญของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Database)    นั่นเอง  สำหรับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นั้นมีคำศัพท์ที่ควรทำความรู้จักอยู่  3  ส่วน  ได้แก่  Entity,  Attribute,  และ  Relation
·       Entity (เอนทิตี) คือ  สิ่งที่เรียกสิ่งที่อ้างถึงในฐานข้อมูล  เช่น  ลูกค้า  สินค้า  พนักงานขาย  ฯลฯ  โดยแต่ละ  Entity  จะต้องเป็นอิสระต่อกัน  แต่สามารถมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ ได้
·       Attribute  (แอตทริบิวต์)  คือ  สิ่งที่ใช้อธิบายรายละเอียดของแต่ละ  Entity  เช่น  หากกล่าวถึงเอนทิตี

·       Relation  (ความสัมพันธ์)  คือ  ความสัมพันธ์ระหว่าง  Entity  ด้วยกัน  เช่น  ฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า  เอนทิตีลูกค้าจะมีความสัมพันธ์กับเอนทิตีสินค้าผ่านความสัมพันธ์ที่เรียกว่า  คำสั่งซื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น